Sunday, April 6, 2014
การขานแต้มเทนนิส มีที่มายังไงครับ
เทนนิสเป็นกีฬาที่ถือกำเนิดขึ้นในฝรั่งเศสตั้งแต่ศตวรรษที่ 12
จนกระทั่งช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กีฬาประเภทนี้ถึงได้เป็นที่นิยม
ในประเทศอังกฤษ จากเดิมที่ใช้มือตีลูกบอล ก็มีการเปลี่ยนแปลงมา
ใช้แร็กเกต และปรับเปลี่ยนกติกาเรื่อยมาจนเป็นเกมลูกสักหลาด
ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
เรื่องของ การนับแต้ม เทนนิสไม่เหมือนกีฬาประเภทอื่น
ถ้าไม่คุ้นเคยมาก่อนอาจจะงง ว่าทำไมไม่นับเป็น 1-2-3 แต่เป็น
15-30-40 เท่าที่ค้นคว้ามา ไม่มีใครยืนยันได้แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์
ว่า ทำไมจึงนับแบบนี้ แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่า มาจากการนับไล่คอร์ต
ทั้ง 2 ด้านซึ่งมีอยู่ 4 คอร์ต ดังที่เราเห็นเส้นแบ่งในสนาม เป็นการนับ
ตามเข็มนาฬิกา จากคอร์ตแรกไปถึงคอร์ตที่ 4 เหมือนนับจากเลข 3
(15 นาที), เลข 6 (30 นาที), และเลข 9 (45 นาที) เมื่อถึงเลข 12
(60 นาที) ก็เกมพอดีได้ 1 แต้มสำหรับ 45 นั้น อาจเรียกแล้วยาวไป
ก็เลยเรียกสั้นๆ ให้เป็น 2 พยางค์คือ "โฟร์ตี้" (Forty)
ส่วนคำว่า "ดิวซ์" นั้น มาจากภาษาฝรั่งเศส "deux"
หมายถึงการเล่นที่ต้องชนะให้ได้ 2 แต้ม หลังจากที่เสมอกัน 40-40
เวลากรรมการขานแต้ม เราจะได้ยินคำว่า 15-0,30-0, หรือ 40-0
โดยแทนคำ 0 ว่า "เลิฟ"
Love คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสอีกเช่นกัน (l'oeuf) ซึ่งหมายถึงไข่
หรือที่บ้านเราชอบเรียกว่า "กินไข่" หมายถึง เกมศูนย์นั่นเอง
นอกจากนี้ ในภาษาอังกฤษยังมีวลีที่ว่า "neither for love nor for money"
ซึ่งหมายถึงไม่มีทั้งความรักและเงินตรา ไม่มีอะไรเลย ก็คือ "ศูนย์" นั่นเอง
ส่วน ไทเบรก ที่เล่นหลังจากเสมอกัน 6-6 เกมนั้น
มีการนำมาใช้ช่วงต้นทศวรรษที่ 70 เริ่มจาก ใครได้ 9 แต้มก่อนเป็นผู้ชนะ
แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นใครได้ 7 แต้มก่อนชนะ และถ้าเสมอกัน 6-6
จะต้องชนะกัน 2 แต้มขึ้นไปถึงจะได้เซ็ตนั้น (เช่น 10-8, 11-9 เป็นต้น)"
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment