Saturday, October 15, 2011

ลำดับความสำคัญของงานวิจัยมีอะไรบ้าง

ระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ 


ระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ (strength of evidence) เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
โดยใช้ตามเกณฑ์ของเมลินย์และไฟเอาท์- โอเวอร์ฮอลท์ (Melnyk & Fineout-Overholt,2005) แบ่งเป็น 7 ระดับ
1. ระดับ 1 หลักฐานจากการทบทวนงานวิจัยย่างเป็นระบบ (Systematic Review) การวิเคราะห์เมต้า จากงานวิจัยเชิงทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมทั้งหมด (Randomized controlled trial,RCT)
2. ระดับ 2 หลักฐานจากงานวิจัยเชิงทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีการออกแบบวิจัยอย่างดี อย่างน้อย 1 เรื่อง (Randomized controlled trial,RCT)
3. ระดับ 3 หลักฐานที่ได้จากงานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุม มีการออกแบบวิจัยอย่างดี แต่ไม่มีการสุ่ม (controlled trial, without randomized)
4. ระดับ 4 หลักฐานที่ได้จากงานวิจัยที่เป็นการศึกษาย้อนหลัง หรือการติดตามไปข้างหน้า ที่มีการออกแบบวิจัยอย่างดี (case controlled and cohort studies)
5. ระดับ 5 หลักฐานที่ได้จากการทบทวนวรรรกรรมอย่างเป็นระบบของงานวิจัยเชิงบรรยายหรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ (descriptive and qualitative study)
6. ระดับ 6 หลักฐานที่ได้จากงานวิจัยเดี่ยวที่เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายหรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ
7. ระดับ 7 หลักฐานที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ และ/หรือ รายงานจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะเรื่อง ซึ่งจัดเป็นลำดับสุดท้าย ในกรณีที่ไม่มีงานวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในหัวข้อนั้นๆ

No comments:

Post a Comment